"โฟล์คสวาเกน"

beeltle1.jpg (28062 bytes)เมื่อกว่า 60 ปีก่อน จอมเผด็จการนาซีเยอรมันนาม "อดอล์ฟ ฮิตเล่อร์ " มุ่งมั่นสร้างมหาอาณาจักรไรซ์ที่สามเป็นเจ้าโลกให้ได้ แม้จะต้องใช้ชีวิตมนุษย์ไม่รู้กี่สิบล้านถมกรุยทาง เพื่อแผ้วถางทางสะดวกในสงครามทะเลทรายไร้น้ำของอัฟริกา ฮิตเล่อร์มีบัญชาให้ออกแบบสร้างรถยนต์ที่ดั้นด้นไปทุกแห่งหนได้โดยไม่ต้องง้อน้ำ และต้องออกแบบให้เรียบง่าย ลดค่าใช้จ่ายทั้งในการผลิตและซ่อมบำรุง    วิศวกรเยอรมันชื่อ " ดร. เฟอร์ดินานด์ ปอร์เช่ " ใช้ความเป็นอัจฉริยะ และประสบการณ์ที่ได้จากการออกแบบ ทำรถยนต์ที่สนองความปรารถนาของจอมเผด็จการได้อย่างครบถ้วน และยังแถมให้ด้วยความต้องการที่จะให้คนเยอรมันมีคุณภาพชีวิตที่เทียมทัน ไม่น้อยหน้าคนอเมริกันที่มีรถที่สร้างทำง่าย ๆ อย่างรถฟอร์ด Model T ใช้กันเกลื่อนแทบทุกครัวเรือนในอเมริกา ซึ่งฮิตเล่อร์มีบัญชาให้ปอร์เช่เดินทางไปศึกษาด้วยตนเอง รถยนต์ที่ ดร.ปอร์เช่ ออกแบบสร้างให้ในเวลาอันรวดเร็วทันตามบัญชาของผู้เผด็จการ นอกจากจะเหมาะสำหรับใช้ในการทำสงครามทะเลทรายตามความต้องการหลักของฮิตเล่อร์แล้ว   ยังเหมาะที่จะให้ใช้เป็นพาหนะของคนเยอรมันได้ถ้วยหน้า จึงได้รับชื่อเรียกขานเป็นภาษาเยอรมันว่า "โฟล์คสวาเกน" แปลตรง ๆ ได้ว่า "รถสำหรับประชาชน",  " รถสำหรับประชาชน " จึงเริ่มต้นชีวิตด้วยความชิงชังของคนทั้งโลก ที่ไม่มีเชื้อสายเผ่าอารยันของผู้เผด้จการนาซีเยอรมันชื่อ ฮิตเล่อร์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ยุติด้วยความปราชัยย่อยยับของเยอรมันและความตายของฮิตเล่อร์นั้น แม้แต่คนเยอรมันเองก็มองรถยนต์รูปร่างเหมือน "เต่าทอง" ด้วยความรู้สึกเป็นจิตใต้สำนึกว่า นี่คือสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสงคราม และความปราชัยของเยอรมันนี จึงไม่มีผู้ใดแยแสที่จะคิดต่อชีวิตให้แก่รถยนต์รูปร่างหน้าตาประหลาดนี้ เมื่อสงครามยุติและกลายเป็นนายทหารอังกฤษของสัมพันธมิตรผู้มีชัย ที่เกิดความคิดว่ารถเยอรมันคันเล็ก ๆ นี้ น่าจะแก้ปัญหาความขาดแคลนยานพาหนะของชาวโลกได้ในยุคหลังสงคราม

"Ripley" ต้องรีบเขียนคอลัมน์ "Belive it or not !" เมื่อปรากฎว่าแทบจะทันทีที่โรงงานซึ่งมีสัญลักษณ์ "หมาป่า บนกำแพงขาว" แปรสภาพจากกองอิฐหัก เพราะลูกระเบิดสัมพันธ์มิตรกลับเข้ารูปเข้ารอย สามารถผลิตรถยนต์รูปร่างเหมือนเต่าทองได้อีกครั้งด้วยความสนับสนุนของพันธมิตร "โฟล์คสวาเกน" ทุกคันที่ออกจากสายการผลิต จะมีผู้จับจองทันทีแทบไม่ให้สีมีโอกาสแห้ง

ในช่วงเวลาไม่กี่ปี สถิติการผลิตรถฟอร์ด Model T ก็ถูกทำลายราบคายด้วยจำนวนรถ "เต่าทอง" ที่ผลิตจากโรงงานที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก และทำให้โฟล์คสวาเกนเต่าทองกลายเป็นรถยนต์ชนิดเดียวในประวัติศาสรต์ที่คนทั่วไปไม่อาจบอกได้ว่า รถคันที่วิ่งอยู่ตามถนนที่เห็นนั้นเป็นรุ่น 1939 หรือ 1999 กันแน ่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอยู่ที่ว่า รถยนต์ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความชิงชังคนทั้งโลกนอกจากคนเผ่าอารยันของตนเอง ได้กลับกลายเป็นรถยนต์ที่คนทั้งโลกชื่นชม รักใคร่ปรารถนาที่จะได้เป็นเจ้าของ ไม่เพียงเพราะตระหนักถึงความสำคัญในประวัติศาสตร์เท่านั้น หากยังเป็นด้วยบุคลิกที่ไม่เหมือนใครอีก ด้วยรูปลักษณืที่ผิดแผกแตกต่างกับรถคันใด ได้ทำให้โฟล์ค "เต่าทอง" เป็นขวัญในของคนรักรถด้วยประเด็นที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งบางทีก็อยู่ที่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่นเมื่อหลายสิบปีมาแล้วความรักความหวงแหนห่วงในนำมาซึ่งความเอาในใส่ทะนุถนอม จึงยากที่จะเห็นว่ามีโฟล์คเต่าคันไหนที่เจ้าของทอดทิ้งปล่อยปละไม่ดูแลรักษา ส่วนใหญ่มีการตกแต่งสวยงามไร้ตำหนิเหมือนเพิ่งถอยออกจากอู่ หรือร้านรับจ้างตกแต่งคนที่มรความรักเช่นนี้คงไม่มีใครที่จะไม่สนในว่ารถของตนจะกลายเป็น " เสือทะยานชน " หรือ อย่างน้อยก็ถอยเข้าจอด โดยไม่ห่วงใยว่าขอบฟุตบาทจะทำให้ฝาครอบล้อบุบบี้มีริ้วรอยถ้าคนใช้รถทุกคนรักรถของตนเช่นคนใช้โฟล์ค แน่ในได้เลยว่าสถิติอุบัติภัยบนท้องถนนทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่จะลดน้อยลงได้เพราะความรักรถที่ตนนั่งหลังพวงมาลัย